- ล้างแอร์กี่ครั้งต่อปี >>> อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี หรืออาจจะมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
- การเติมน้ำยาเพิ่มทุกครั้้งที่ล้าง >>>ไม่จำเป็นครับ ขึ้นอยู่ว่าน้ำยายุบไปเท่าใหร่ ก็ควรเติมให้ได้แรงดันตามเกินที่กำหนดครับ
- น้ำยาแอร์เบอร์ใหม่ R410a >>>ถ้ารั่วไม่ควรเติมเพิ่มนะครับ เพราะอัตราส่วนที่เหลืออยู่ในระบบไม่เท่ากัน ควรปล่อยทิ้งให้หมด และทำระบบน้ำยาใหม่นะครับ
- แอร์ในปัจจุบันนี้้มีขาย ทั้งระบบอินเวอร์เตอร์ และระบบ fixed speed ควรใช้แอร์ระบบใดดี >>> ควรใช้ระบบ fixed speed ครับ เพราะปัญหาของระบบอินเวอร์เตอร์ ถ้าดูแลรักษาไม่ดีพอ จะมีปัญหาให้จุกจิกกวนใจมากกว่าระบบ fixed speed ครับ
- น้ำยา R32 เป็นน้ำยาเบอร์ใหม่ล่าสุด ควรใช้หรือไม่ >>>เป็นไปตามกระแสครับ บางยี่ห้อเลิกการผลิตแอร์ที่ใช้น้ำยา R22,R410a ไปแล้ว น้ำยาR32 น่าจะเหมาะสมกับสถานการณ์ตอนนี้ที่สุดอะครับ
- แล้วแอร์ยี่ห้อใหนดีที่สุดล่ะ >>>ก็ดีเหมือนกันหมดแหละครับ ขึ้นอยู่กับความชอบ ส่วนข้อเสียก็มีเล็กๆน้อยๆ มีทุกยี่ห้อแหละครับ การเลือกซื้อแอร์ให้ซื้อตามที่ตัวเองชอบนะครับ
- แรงดันของน้ำยาแต่ละเบอร์ >>>R22 เติมไม่เกิน 80 PSI , R410a , R32 เติมไม่เกิน 150 PSI
- ข้อดีของแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์>>>คืออุณหภูมิคงที่ เย็นเร็ว และประหยัดไฟ 30-40 %
- ข้อเสียของแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์>>>ระยะยาวจุกจิกเย็นไม่ฉ่ำ เสียบ่อย ถ้าระบบมีความบกพร่องจะขึ้น Error Code ช่างทั่วไปมักซ่อมไม่ได้ และอะไหล่แพง เมื่อเทียบกับระบบธรรมดา มีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าระบบ Fixed Speed
- แต่อนาคต เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องใช้ครับ แต่ช่างที่ซ่อมซ่อมไม่เป็นก็ต้องหันมาศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมนะครับ
- น้ำยา R32 ใช้กับแอร์รุ่นใหม่ ทุกยี่ห้อ การแว็คคั่ม ให้แว็ค 30 นาที ปัญหาที่พบบ่อย คือแผงคอยล์เย็นรั่ว
ไขข้อข้องใจ BTU แอร์คืออะไร?
BTU ย่อมาจาก British Thermal Unitคือหน่วยวัดปริมาณความสามารถในการทำความเย็น
ของเครื่องปรับอากาศ ภายใน 1 ชั่วโมง ยิ่งตัวเลข BTU
สูงเครื่องปรับอากาศก็จะสามารถปรับความเย็นมากขึ้น
การเลือกเครื่องปรับอากาศจึงจำเป็นต้องคำนวณค่าBTUก่อน
เพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองพลังงานและประหยัดค่าไฟ
สูตรการคำนวณบีทียู
การเลือกเครื่องปรับอากาศขึ้นอยู่กับรูปแบบห้องหรือพื้นที่อาศัย แต่ในปัจจุบันสภาพอากาศค่อนข้างร้อนกว่าค่าตัวแปรที่ตั้งไว้ แคเรียร์แนะนำว่าควรใช้ค่าตัวแปร 1000 x ตารางเมตรของห้อง และเมื่อได้ค่าBTUมาแล้ว คุณสามารถเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีค่าBTU สูง-ต่ำได้นิดหน่อยแต่ไม่ควรเกิน1000 BTU เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
สูตรการคำนวณค่าBTU
BTU = ความกว้าง(เมตร) x ความยาว(เมตร) x ค่าตัวแปร
ทำไมต้องใช้ตัวแปรเข้ามาในการคำนวณ? ก็เพื่อนำไปวัดหาค่าBTU สำหรับการเลือกติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งตัวแปรก็จะมีค่าที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับขนาดของห้อง ระดับความร้อนที่ห้องหรือพื้นที่อาศัยจะได้รับจากภายนอก จำนวนคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น ความถี่การเข้า-ออก/เปิด-ปิดของประตู และรวมไปถึงประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าในพื้นที่นั้นด้วย ซึ่งโดยประมาณค่าตัวแปรของแต่ห้องมีดังนี้
ค่าตัวแปร
800-900 : สำหรับห้องนอน หรือห้องที่มีความร้อนน้อยโดนแดดเล็กน้อย
900-1,000 : สำหรับห้องรับแขก หรือห้องที่มีความร้อนปลานกลาง – มาก
1000-1200 : สำหรับห้องออกกำลังกาย ห้องทำงาน หรือห้องที่มีความร้อนมาก
1200 หรือมากกว่า : สำหรับร้านค้า ร้านอาหาร หรือห้องที่มีการเปิด-ปิดประตูบ่อย สำนักงาน
แต่เพื่อความสะดวกและง่ายขึ้นในการคำนวณค่า BTU ทางCarrier มีระบบคำนวณค่าBTUอัตโนมัติให้บริการ เพียงแค่ใส่ความกว้างและความยาวของพื้นที่ห้องทางระบบของแคเรียร์ก็จะคำนวณค่าBTUที่เหมาะสมกับพื้นที่ห้องของคุณในทันที
คอยล์คืออะไร
อย่างแรกเลยก่อนที่คุณอยากได้เครื่องปรับอากาศที่มีความทนทาน คุณต้องรู้จักกับสิ่งนี้ก่อน
‘คอยล์แอร์’ หัวใจสำคัญของเครื่องปรับอากาศ เป็นส่วนประกอบที่บอกถึงเรื่องของความคงทน เครื่องปรับอากาศจะอยู่ได้คงทนได้แค่ไหน ให้ดูคอยล์แอร์เป็นส่วนประกอบ อย่าได้รอช้า มารู้จักคอยล์แอร์ผ่านบทความนี้กัน
เคยมั้ย? พนักงานขายจะคอยแนะนำจุดเด่นของแอร์ให้เรารู้จัก ไปจนถึงวัสดุที่ใช้ในการผลิต และหนึ่งในวัสดุที่พนักงานขายพูดถึง และแนะนำให้กับลูกค้าคงจะหนีไม่พ้นสิ่งนี้ “คอยล์แอร์แบบไหนที่คุณลูกค้าสนใจ” หลาย ๆ คนที่ยังสงสัยอยู่ว่า “คอยล์” ที่พูดถึงตกลงแล้วคืออะไร แล้วคอยล์เย็น คอยล์ร้อนแอร์คืออะไร สามารถหาคำตอบได้ตามด้านล่างนี้
แอร์อินเวอร์เตอร์ (Inverter) คือ
แอร์ที่ทำงานโดยกระบวนการแปลงไฟฟ้าจากกระแสตรง (DC) ไปเป็นกระแสสลับ (AC) เพื่อควบคุมรอบมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์ได้อย่างละเอียดกว่าการปรับกระแสไฟฟ้าสลับโดยตรงที่ทำได้เพียงแค่ ตัด/ต่อ เหมือนแอร์บ้านทั่วไป
แอร์อินเวอร์เตอร์ดีไหม? ทำไมหลายคนเลือกใช้งาน
แอร์ระบบอินเวอร์เตอร์ช่วยประหยัดพลังงาน เนื่องจากระบบการทำงานของคอมเพรสเซอร์ไม่ได้ถูกตัดบ่อยครั้ง แต่เป็นการลดรอบของมอเตอร์เมื่ออุณหภูมิคงที่หรือการไม่ตัดสตาร์ทใหม่ของมอเตอร์แทน และด้วยระบบการทำงานด้วยวิธีการลดรอบของมอเตอร์ ทำให้แอร์ระบบอินเวอร์เตอร์มีความเงียบมากกว่าแอร์ระบบธรรมดาทั่วไป ในขณะที่ระบบทำความเย็นเริ่มทำงานหรืออุณหภูมิคงที่แล้วอินเวอร์เตอร์จะสั่งลดรอบการทำงานของมอเตอร์ลง (หมุนช้าลง) แต่ไม่หยุดการทำงานของมอเตอร์ ซึ่งเป็นการลดกำลังงานที่ใช้ ช่วยให้ประหยัดค่าไฟมากขึ้น ด้วยเหตุนี้แสดงให้เห็นว่าแอร์ที่มีระบบ Inverter เปรียบเสมือนมีสมองกลอัจฉริยะ ที่ช่วยให้การทำงานของเครื่องปรับอากาศดีและฉลาดยิ่งขึ้น.
จุดเด่นของแอร์อินเวอร์เตอร์ที่ผู้ใช้งานควรรู้
– สามารถช่วยรักษาอุณหภูมิได้คงที่มากกว่า ไม่ตัดรอบในการทำงานบ่อย จึงช่วยประหยัดไฟ
– เครื่องระบบนี้จะเดินได้เบา เพราะมีการทำงานที่ความเร็วรอบต่ำอยู่ตลอดเวลาและลดปัญหาไฟกระชากได้อีกด้วย
– อุณหภูมิภายในห้องเย็นอย่างคงที่และต่อเนื่องมากกว่า เพราะหากเทียบกับแอร์ระบบที่ไม่ใช่อินเวอร์เตอร์ จะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลง ๆ จากการตัดรอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์ จึงทำให้อุณหภูมินั้นมีอุณหภูมิที่ไม่ต่อเนื่อง
– เหมาะที่จะนำมาใช้ร่วมกับระบบไฟแบบโซล่าเซลล์ เพราะมีอัตราการใช้ไฟที่น้อยกว่า ช่วยให้คุณประหยัดทั้งค่าไฟและต้นทุนในการใช้เครื่องปรับอากาศในอนาคตอีกด้วย
เลือกใช้งานแอร์ Inverter อย่างไรให้เหมาะสมกับห้อง
การใช้งานแอร์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเต็มที่ ช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟ และยังให้ความเย็นทั่วถึงทุกพื้นที่ของบ้าน โดยการเลือกใช้งานแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานตลอดเวลาหรือต่อเนื่องหลายชั่วโมง อาทิ ห้องทำงาน ห้องนอน หรือห้องที่มีอุณหภูมิสม่ำเสมอและเงียบสงบ.
แอร์ระบบ Inverter มาพร้อมข้อดีคือช่วยประหยัดไฟรวมถึงมีการทำงานเงียบสงบและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หากคุณกำลังตัดสินใจเลือกซื้อแอร์เพื่อใช้งานภายในบ้าน โดยมีจุดประสงค์ในเรื่องของการประหยัดไฟ ทำงานเงียบ และทนทาน ขอแนะนำเครื่องปรับอากาศ LG ระบบ Inverter ดีไซน์สวยงาม ประหยัดไฟได้เป็นอย่างดี.
เคล็ดลับในการเลือกแอร์แบบประหยัดไฟ
- ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5
เราสามารถดูได้จากฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของแอร์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานตามที่ กฟผ. และกระทรวงพลังงานกำหนด โดยจะมีค่าประสิทธิภาพ (EER) แสดงอยู่ โดยฉลากประหยัดไฟ จะมี 4 ระดับและเบอร์ 5 คือระดับที่ประหยัดไฟมากที่สุด
เบอร์ 5 ดาว : ประหยัดไฟมากที่สุด
เบอร์ 4 ดาว : ประหยัดไฟปานกลาง
เบอร์ 3 ดาว : ประหยัดไฟน้อย
เบอร์ 2 ดาว : ประหยัดไฟน้อยที่สุด
2.ค่าประสิทธิภาพ (EER) คืออะไร ?
ย่อมาจาก Energy Efficiency Ratio คือ อัตราส่วนระหว่างปริมาณความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้ (Output) กับกำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศใช้ในการทำความเย็น (Input) โดยค่า EER จะแสดงอยู่ในหน่วย BTU/hr ต่อ วัตต์ (BTU/hr/W)
ค่า EER ของแอร์ยิ่งสูงยิ่งประหยัดไฟ ตัวอย่างเช่น แอร์ที่มีค่า EER 10 หน่วย จะหมายถึงแอร์ 1 เครื่อง สามารถทำความเย็นได้ 10 หน่วยความร้อน (BTU) โดยใช้พลังงานไฟฟ้า 1 หน่วย (กิโลวัตต์-ชั่วโมง)
3.ระบบการทำงานช่วยประหยัดไฟ
ระบบแอร์ที่สามารถทำความเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน โดยอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยควบคุมการทำงานของแอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยระบบแอร์ประหยัดไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังนี้
- ระบบ Inverter
การทำงานของแอร์ระบบ Inverter แตกต่างจากแอร์แบบเดิมตรงที่แอร์แบบเดิมคือคอมเพรสเซอร์จะหยุดทำงานทันที เมื่ออุณหภูมิห้องถึงระดับที่ตั้งไว้ และจากนั้นเมื่ออุณหภูมิห้องสูงขึ้นกว่าระดับที่ตั้งไว้ คอมเพรสเซอร์จะกลับมาทำงานใหม่ โดยจะทำให้แอร์กินไฟมาก เนื่องจากคอมเพรสเซอร์จะต้องทำงานหนักในการทำความเย็นห้องให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว
ในขณะที่แอร์ Inverter จะทำงานตามอุณหภูมิของห้อง เมื่ออุณหภูมิห้องถึงระดับที่ตั้งไว้แล้วคอมเพรสเซอร์จะลดความเร็วรอบลงเพื่อให้อุณหภูมิห้องคงที่ ซึ่งการทำงานแบบนี้จะช่วยให้แอร์กินไฟน้อยลง เนื่องจากคอมเพรสเซอร์ไม่ต้องทำงานหนักในการทำความเย็นห้องให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว
4.เลือกแอร์ที่มีขนาด BTU เหมาะสมกับห้อง
ค่า BTU ของแอร์ คือ หน่วยวัดปริมาณความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำความเย็นได้ โดยค่า BTU ยิ่งสูง ความสามารถในการทำความเย็นก็จะยิ่งมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเลือกแอร์ที่มีค่า BTU สูงเกินไปก็อาจทำให้สิ้นเปลืองพลังงานได้เช่นกัน หากเลือกแอร์ที่มีขนาด BTU เหมาะสมกับห้องจะช่วยให้แอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานได้มากที่สุด
การทำงานของเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์จะแตกต่างจากเครื่องปรับอากาศทั่วไปตรงที่
- อินเวอร์เตอร์เมื่อเริ่มเปิดเครื่อง อุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงถึงระดับที่ตั้งไว้ หลังจากนั้น คอมเพรสเซอร์จะปรับรอบการทำงานลงเพื่อคงอุณหภูมิภายในห้องให้คงที่ตลอดเวลา จะทำให้รู้สึกเย็นสบาย ตลอดเวลา
- ระบบธรรมดา เมื่อเริ่มเปิดเครื่อง อุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงต่ำกว่าระดับที่ตั้งไว้ประมาณ1-2 องศา หลังจากนั้น คอมเพรสเซอร์จะตัดการทำงาน จากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆสูงขึ้น เกินระดับที่ตั้งไว้ 1-2 องศา คอมเพรสเซอร์ก็จะเริ่มทำงานอีกครั้ง ทำให้อุณหภูมิภายในห้องจะเย็นเกินไป สลับกับร้อนเกินไปอยู่ตลอดเวลา ยิ่งเวลานอนหลับ จะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หลับๆ ตื่นๆได้
ระบบ Inverter ในปัจจุบันประหยัดไฟมากกว่า Fixed Speed เบอร์ 5 ประมาณกี่ %
- ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์มีการพัฒนาไปมาก ทำให้ประหยัดไฟมากกว่า Fixed Speed เบอร์ 5 เมื่อเทียบกับรุ่น fix speed แล้วจะสามารถประหยัดได้ตั้งแต่ 25-50 %
ระบบอินเวอร์เตอร์ทำ part load ได้น้อยสุดกี่ % และมากสุดกี่ % ?
- ตั้งแต่ 20 % ถึง 150 % แล้วแต่การออกแบบของแต่ละรุ่น และแต่ละแบรนด์ของผู้ผลิต (ควรศึกษาผลิตภัณฑ์ Product ของผู้ผลิตแต่ละค่ายอีกครั้งเพื่อข้อมูลที่ตรงกัน)
จุดคุ้มทุนในการใช้เครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์นานเท่าไรเมื่อเทียบกับเครื่องปรับอากาศที่ไม่ใช่อินเวอร์เตอร์?
- ระยะเวลาคืนทุนขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการใช้งาน หากกรณีเปิดเฉพาะช่วงกลางคืนเป็นเวลา 8 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ยคืนทุนภายในประมาณ 2 ปี ยิ่งใช้งานเยอะยิ่งคืนทุนไว (ขึ้นกับค่า SEER,รุ่น,แบรนด์ของผู้ผลิตนั้นๆ) **ทุนในที่นี้หมายถึง Fixed Cost ต้นทุนค่าเครื่องที่จ่ายซื้อครั้งแรก ซึ่งส่วนใหญ่ แอร์อินเวอร์เตอร์มักแพงกว่าแอร์ระบบธรรมดา แต่สามารถประหยัดค่าไฟต่อเดือนได้มากกว่า จึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าหากคำนึงถึงค่าไฟในระยะยาว
สรุป แล้วแต่ท่านจะชอบแบบใหนไม่มีถูกไม่มีผิด
แอร์อินเวอเตอร์ กับ แอร์ธรรมดา เหมาะกับใคร???
– ใช้งานทุกวัน วันละ 6 ชม ขึ้นไป แนะนำให้ใช้ระบบอินเวอร์เตอร์
– ใช้งานอาทิตย์ละ 1-2ครั้ง แนะนำให้ใช้ระบบธรรมดา
อาการฟ้องว่าแอร์เสีย
- อาการ แอร์ไม่เย็น มีสาเหตุจาก – หากตรวจเช็คดูแล้วว่าคอมเพรสเซอร์ทำงาน อาจเป็นเพราะแอร์สกปรก ต้องทำการล้างแอร์ทั้งคอยล์ร้อนและคอยล์เย็นโดยปั๊มน้ำแรงดันสูง …
- อาการน้ำหยดที่คอยล์เย็น มีสาเหตุจาก …
- อาการแอร์มีกลิ่นอับชื้น มีสาเหตุจาก …
- อาการคอยล์ร้อนเสียงดัง ( ตัวระบายความร้อน )
1. อาการ แอร์ไม่เย็น
มีสาเหตุจาก
– หากตรวจเช็คดูแล้วว่าคอมเพรสเซอร์ทำงาน อาจเป็นเพราะแอร์สกปรก ต้องทำการล้างแอร์ทั้งคอยล์ร้อนและคอยล์เย็นโดยปั๊มน้ำแรงดันสูง
– น้ำยาแอร์ขาด ต้องเติมน้ำยาเข้าระบบแรงดันประมาณ 70-80 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
– มีการอุดตันของระบบน้ำยาแอร์ ต้องทำการเปลี่ยนแคปทิ้ว(ตัวฉีดน้ำยา) , ไดเออร์(ตัวกรองความชื้น) และแวคคั่มระบบเติมน้ำยาใหม่
– ถ้าคอมเพรสเซอร์แอร์ไม่มีกำลังอัด อันนี้ถึงขั้นเปลี่ยนคอมใหม่
– ถ้าคอมแอร์ทำงาน อาจมีสายไฟหลุด , ขาด ต้องทำการตรวจเช็ค หาจุดที่สายไฟขาดหรือหลุด
– แมกเนติก(ตัวตัดต่อวงจรไฟฟ้า)เสีย ต้องทำการเปลี่ยนแมกเนติก
– แคปสตาร์ทเสีย ต้องทำการเปลี่ยนแคป
– แผงควบคุม(ที่คอยล์เย็น)เสียต้องทำการเปลี่ยนหรือส่งซ่อมที่ศูนย์บริการของผู้ผลิต
– คอมเพสเซอร์เสีย ต้องทำการเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ใหม่ทั้งตัว
2. อาการน้ำหยดที่คอยล์เย็น
มีสาเหตุจาก
– แอร์สกปรก ต้องทำการล้างแอร์ด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูง
– ข้อต่อท่อน้ำทิ้งหลุด ทำการตรวจเช็คหาจุดที่หลุด
– ท่อน้ำทิ้งตัน ทำการฉีดไล่ด้วยปั๊มแรงดันสูง หรือถ้ามีอาการเรื้อรังอาจเกิดจากมีการอุดตันที่ถาดน้ำทิ้งด้านหลังตัวแอร์ ทำการตัดคอยล์เย็นลงมาทำการถอดชิ้นส่วนและฉีดล้างให้ทั่ว
3. อาการแอร์มีกลิ่นอับชื้น
มีสาเหตุจาก
– ในห้องมีความชื้นสูง ตั้งโหมดลดความชื้นที่ตัวแอร์
– แอร์สกปรก ทำการล้างแอร์ด้วยปั๊มแรงดันสูง
– เดินท่อน้ำทิ้งไปตรงกับท่อระบายน้ำ ทำการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่
4. อาการคอยล์ร้อนเสียงดัง ( ตัวระบายความร้อน )
มีสาเหตุจาก
– มอเตอร์พัดลมเสีย ต้องทำการเปลี่ยนมอเตอร์
– ใบพัดลมตีกับโครงแอร์ ทำการตรวจเช็คหาจุดที่กระทบกัน
– มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในตัวเครื่อง ทำการตรวจเช็ค
– แมกเนติกเสื่อม ต้องทำการเปลี่ยนแมกเนติก
เครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศ หรือ แอร์ เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นเมืองร้อน แอร์จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพื่อความเย็นสบายในการอยู่อาศัย ซึ่งแอร์ก็จะมีหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายรุ่น และขนาด ซึ่งจะมี ราคาแอร์ ให้ผู้ใช้งานได้ เลือกซื้อ ได้อย่างหลากหลาย ผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานจริงและลักษณะของสถานที่ รวมถึงเรื่องของราคาที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งคุณสามารถเปรียบเทียบราคาแอร์จากยี่ห้อแอร์ทั้งหมดบนเว็บไซต์ของเราเพื่อความคุ้มค่าพร้อมกับคุณภาพในแบบที่ต้องการ
- BTU (British Thermal Units)
เป็นหน่วยวัดค่าพลังงานความร้อนตามมาตรฐานสากล เมื่อนำมาใช้ในส่วนของเครื่องปรับอากาศ จะมีหมายถึงความสามารถในการทำความเย็น ถ่ายเทความร้อนออกจากห้องภายในเวลา 1 ชั่วโมง โดยคำนวณเป็น ความร้อน 1 BTU เท่ากับ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์ มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮต์ ยิ่งตัวเลข BTU เยอะก็แสดงว่าแอร์เครื่องนั้นทำความเย็นได้มาก
- คอยล์ (Coil)
ชิ้นส่วนที่เชื่อมต่อกับคอมเพรสเซอร์ มีหน้าที่ให้น้ำยาแอร์ไหลผ่านและแลกเปลี่ยนความร้อน ให้เกิดเป็นระบบหมุนเวียนภายใน ปล่อยความเย็นสู่ห้องของเราและนำความร้อนออกสู่ภายนอก ซึ่งคอยล์ที่อยู่ในเครื่องปรับอากาศจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอยล์ร้อนและคอยล์เย็นซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน
- คอยล์เย็น (Condenser)
คอยล์เย็นเป็นส่วนประกอบหลักของระบบทําความเย็น ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อน เมื่ออากาศร้อนไหลผ่านแผงคอยล์เย็นก็จะได้ความเย็นออกมา สารทำความเย็นภายในคอยล์เย็นจะเดือดเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส เมื่อได้รับความร้อนเข้ามา และไหลเวียนกลับไปที่คอมเพลสเซอร์
- คอยล์ร้อน (Evaporator)
คอยล์ร้อนหรือ คอนเดนเซอร์ เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศที่สำคัญมากอีกตัวหนึ่ง ทำหน้าที่ทำให้สารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะจากไอเป็นของเหลวโดยการควบแน่น ที่มีแรงอัดจากคอมเพลสเซอร์ ใช้พัดลมดูดอากาศบริเวณโดยรอบมาระบายความร้อนให้กับสารทำความเย็น
- คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
เป็นอุปกรณ์หลักที่สำคัญอันหนึ่งของระบบทำความเย็น คอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่อัดสารทำความเย็นหรือที่เราเรียกว่าน้ำยาแอร์ส่งไปยังส่วนควบแน่นที่มีแรงดันสูงหรือคอนเดนเซอร์คอยล์ โดยคอมเพรสเซอร์จะอัดแรงดันสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นก๊าซ และในอีกด้านของการทำงานของคอมเพรสเซอร์ จะทำหน้าที่ดูดสารทำความเย็นที่มีสถานะที่เป็นก๊าซจากการแลกเปลี่ยนความร้อนของคอยล์เย็น กลับเข้ามาหมุนเวียนเพื่อเริ่มต้นกระบวนการอีกครั้ง
- สารทำความเย็น (Refrigerant)
สารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ เป็นตัวกลางในการทำความเย็นทำหน้าที่รับ ดูดซับ และนำพาความร้อน เพื่อให้เกิดการขยายตัว หรือมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวให้กลายเป็นไอหรือแก๊ส และเมื่อกลายเป็นไอแก๊สแล้ว จะสามารถคืนตัวเปลี่ยนสถานะกลายเป็นของเหลวได้อีกครั้ง
- เทคโนโลยีระบบ Inverter
ระบบควบคุมไฟฟ้ามีหน้าที่ปรับสมดุลของอากาศภายในห้อง เมื่อถึงอุณหภูมิที่ต้องการคอมเพรสเซอร์ก็ยังคงทำงานต่อไป โดยใช้พลังงานต่ำกว่าเดิม ซึ่งระบบ Inverterจะควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์ให้รักษาอุณหภูมิของห้องให้คงที่ เพื่อทำให้ห้องเย็นสบายอย่างต่อเนื่อง
- ค่า SEER (Seasonal Energy Efficiency Ratio)
ค่าประสิทธิภาพจากการคำนวณของ กฟผ. (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) ที่ใช้วัดความประหยัดพลังงานของเครื่องปรับอากาศชนิด Inverter หรือ Variable Speed การวัดประสิทธิภาพภายใต้อุณหภูมิภายนอกที่เปลี่ยนแปรตามฤดูกาลทำให้ประเมินได้แม่นยำมากขึ้น จำง่ายๆเลยครับ ค่า SEER ยิ่งสูงจะประหยัดพลังงานได้มากยิ่งขึ้น
- ค่า EER (Energy Efficiency Ratio)
คือค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ มีหน่วยเป็น (Btu/hr./W) ค่า EER นั้นก็คืออัตราส่วนของความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้จริง เครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER ยิ่งสูงก็แสดงว่า เครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดียิ่งขึ้น
- แวคคั่ม (Vacuum)
การทำแวคคั่มแอร์จะทำให้การทำความเย็นของแอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการใช้ปั๊มดูดเอาอากาศและความชื้น ที่เป็นตัวการทำให้ระบบเครื่องทำความเย็นทำงานได้ไม่ดีออกให้หมด เพราะความชื้นนั้นก่อให้เกิดการควบแน่นกลายเป็นน้ำไปขัดขวางการเดินของน้ำยาแอร์และยังเกิดเป็นกรดไปกัดกร่อนท่อแอร์ได้อีกด้วย
- ฟิลเตอร์ (Filter)
หรือเรียกอีกอย่างว่าแผ่นกรองฝุ่นที่อยู่ด้านในเครื่องปรับอากาศนั่นเอง มีหน้าที่ดักจับฝุ่นที่อยู่ในอากาศ ซึ่งหากมีการสะสมของฝุ่นจำนวนมากอาจผลเสียต่อร่างกายเรา และควรทำความสะอาดแผ่นฟิลเตอร์กรองเป็นประจำ อย่างน้อยทุกๆ 2สัปดาห์
- ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ติดดาว
ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานที่ได้มาตรฐานตามที่ กฟผ. และกระทรวงพลังงานกำหนด โดยฉลากประหยัดไฟจะมีระดับความประหยัดตั้งแต่เบอร์ 1 ถึงเบอร์ 5 ซึ่งคือระดับที่ประหยัดไฟมากที่สุด และดาวที่เพิ่มขึ้นมา คือเกณฑ์บอกประสิทธิภาพพลังงาน ที่จะแบ่งออกเป็น 6 ระดับคือ เบอร์ 5, เบอร์ 5 หนึ่งดาว, เบอร์ 5 สองดาว, เบอร์ 5 สามดาว สี่ดาว และห้าดาว โดยยิ่งดาวที่มากขึ้นหมายถึงความประหยัดที่มากกว่า แต่ละดาวที่เพิ่มขึ้นนั้นจะแสดงถึงความสามารถในการประหยัดค่าไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น
ชวนมาสำรวจกลิ่นอับเกิดจากอะไรบ้าง?
มาดูกันว่ากลิ่นอับที่สะสมในบ้านนั้นมาจากสาเหตุอะไร เพราะอย่างที่เรารู้กันว่ากลิ่นอับที่สะสมในบ้าน นอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพแล้ว ยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค มาเช็กกันสาเหตุที่ทำให้เกิดไม่พึงประสงค์ในห้อง
- ปัญหากลิ่นสะสม: มักมาจากอาหาร บุหรี่ กลิ่นจากสัตว์เลี้ยง กลิ่นในห้องครัว
- ปัญหากลิ่นห้องอับง่าย: กลิ่นอับจะเกิดขึ้นในห้องที่ค่อนข้างปิดทึบ อากาศไม่ถ่ายเท
- ปัญหาสิ่งของในห้องอับชื้นง่าย: เสื้อผ้าในตู้ โซฟา ผ้าม่าน หรือพรม
5 วิธี กำจัดห้องอับชื้นให้อยู่หมัด
ถ้าไม่อยากนอนหลับไปพร้อมกับกลิ่นเหม็นอับ และโรคนานาชนิด รีบเคลียร์ห้องตัวเองด่วน เพื่อป้องกันห้องอับชื้น และมีกลิ่นอับ สามารถทำได้ตามนี้เลย
1.ห้องปิดทึบไม่มีหน้าต่าง
สำหรับคนที่ต้องอยู่คอนโด หรือหอพักจะไม่ค่อยมีหน้าต่าง และส่วนใหญ่จะเป็นห้องปิดทึบ ทำให้การระบายอากาศถ่ายเทเป็นเรื่องที่ยาก และมักจะมีกลิ่นสะสมอยู่ภายในห้อง สาเหตุมาจากขยะ กลิ่นจากกองเสื้อผ้าที่ใส่แล้ว หรือมาจากกลิ่นอาหารที่นำไปรับประทานในห้อง เมื่อไม่มีการระบายอากาศ จะทำให้มีความชื้นสะสมในห้อง และห้องอับชื้นตามมา
💡ข้อแนะนำ:
- ทำให้ห้องมีอากาศถ่ายเทสะดวกให้ได้มากที่สุด เปิดประตูหน้าต่างเพื่อให้ห้องนอนมีอากาศ ใช้พัดลมช่วยระบายอากาศ เปิดประตูรับแสงแดดจากภายนอก และลม จะช่วยลดการสะสมของความชื้นภายในห้องได้
2.ห้องที่ไม่ทำความสะอาด
ด้วยไลฟ์สไตล์ของคนที่ไม่ค่อยมีเวลาจึงทำให้เราละเลยเรื่องทำความสะอาดในห้อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของขยะที่ไม่ได้ทิ้ง ไม่ได้กวาดห้อง ถูทำความสะอาดห้อง เป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดฝุ่นสะสม และห้องอับชื้นในที่สุด
💡ข้อแนะนำ:
- ทำความสะอาดห้องอยู่เสมอ ในกรณีที่ไม่ค่อยมีเวลา แนะนำให้ทำความสะอาดห้องอาทิตย์ละ 2 ครั้งเป็นอย่างต่ำ จัดการเศษอาหาร ขยะ ล้างห้องน้ำ รวมไปถึงซักผ้าให้เรียบร้อย จะช่วยป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็น และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อโรคต่างๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้อีกด้วย
- ไม่ควรนำอาหาร หรือขนม มาทานในห้องนอน เพราะจะทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ภายในห้องได้ อาจทำให้มีมด หรือเชื้อโรคต่างๆ เข้ามาอยู่ในห้องร่วมกับคุณ เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการนำอาหาร หรือขนมมารับประทานภายในห้องนอน
3.ห้องที่มีกลิ่นอับจากเสื้อผ้า และเฟอร์นิเจอร์
ตู้เสื้อผ้าที่ไม่ค่อยได้ทำความสะอาด และยังมีผ้าปูที่นอนไม่ได้ซัก เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นอับกระจายไปทั่วห้อง นอกจากนี้การตากผ้าในห้องจะทำให้เกิดแบคทีเรียสะสมบนเสื้อผ้า พร้อมกลิ่นเหม็นอับของเฟอร์นิเจอร์ด้วย
💡ข้อแนะนำ:
- อย่าตากผ้าที่เปียกชื้นในห้องนอน จะทำให้เสื้อผ้ามีกลิ่นเหม็นอับ และภายในห้องนอนควรให้ตากผ้าในบริเวณที่มีแดดและลมเข้าถึง และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
- อย่าวางเสื้อผ้าที่ใส่แล้วไว้ในห้อง เสื้อผ้าที่ใช้แล้วในแต่ละวัน มักต้องเผชิญกับฝุ่นควัน รวมถึงสิ่งสกปรกต่างๆ จากภายนอก เพราะฉะนั้นไม่ควรนำมาไว้ภายในห้องนอนเด็ดขาด เพราะนอกจากต้องเจอกับปัญหากลิ่นเหม็นอับแล้ว อาจมีเชื้อโรคปะปนมาอีกด้วย
4.ห้องที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง
สำหรับคนที่เป็นทาสหมา ทาสแมว บอกเลยว่าเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเหลี่ยงปัญหาห้องอับชื้น เพราะสัตว์เลี้ยงจะมีกลิ่นสาบเฉพาะตัว ในกรณีที่สัตว์เลี้ยงของคุณไม่ได้อาบน้ำ ขนร่วงตามพื้น ต้องมีกระบะทรายสำหรับขับถ่ายไว้ในห้อง จะส่งผลให้ห้องของคุณมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้ง่าย
💡ข้อแนะนำ:
- ควรกวาด และถูพื้นบ้านเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง โดยเฉพาะจุดที่สัตว์เลี้ยงของคุณชอบนั่งและชอบนอนเป็นพิเศษ
- อยากให้บ้านหอมสดชื่น ต้องอย่าลืมหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของสัตว์เลี้ยง และห้องของคุณ จะได้ช่วยกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ภายในห้องให้เหลือแต่กลิ่นหอมสะอาดสดชื่น
5.ห้องเหม็นอับจากเครื่องปรับอากาศ
ห้องเหม็นอับอาจเกิดจากเครื่องปรับอากาศที่ไม่ได้ล้างทำความสะอาดมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งแอร์ถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งานบ่อย ทำให้มีสิ่งสกปรกจำนวนมากที่อยู่ในอากาศ และเข้าไปสะสมอยู่ภายในเครื่อง เป็นปัจจัยสำคึญที่ทำให้เกิดกลิ่นอับขึ้นได้ ดังนั้นควรล้างทำความสะอาดแอร์เป็นประจำทุก 6 เดือน
💡ข้อแนะนำ:
- การล้างแอร์ไม่สม่ำเสมอ (ทุก 6 เดือน) ที่ถูกเว้นระยะเวลามานานเกินไปทำให้สิ่งสกปรกสะสมตามส่วนต่าง ๆ ได้ เช่น ฟิลเตอร์ คอยล์ หรือถาดน้ำทิ้ง ที่เป็นส่วนทำให้เกิดกลิ่น
บอกลากลิ่นอับ ด้วยแอร์ทำความสะอาดเองได้
หมดปัญหาห้องมีกลิ่นอับจากแอร์ แค่มาทำความรู้จักระบบทำความสะอาดตัวเองอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่าระบบ Self Cleaning เมื่อเรากดปุ่มปิดแอร์ พัดลมภายในจะยังทำงานอยู่ด้วยความเร็วที่ต่ำที่สุดเป็นเวลา 20-30 นาที
ระบบ Self Cleaning จะช่วยไล่ความชื้นออกจากแผงคอยล์ที่เป็นสาเหตุหลักของกลิ่นอับ และเชื้อรา ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา อย่างการล้างแอร์บ่อย ๆ ได้ อีกทั้งยังช่วยทำให้แอร์มีอายุการใช้งานนานขึ้นอีกด้วย
สุดท้ายนี้ก่อนจากกันไป…ใครสะดวกใช้วิธีแก้ห้องเหม็นอับชื้นแบบไหน ลองเลือกไปปรับใช้กันได้เลย รับรองว่าทริคที่เอามาฝากวันนี้จะช่วยคืนอากาศสะอาดหอมสดชื่น ไม่ต้องมีกลิ่นอับมากวนใจให้กับห้องคุณได้อย่างแน่นอน
ระบบ Fix speed คืออะไร?
Fix speed หรือ เครื่องปรับอากาศความเร็วคงที่ สร้างขึ้นด้วยมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ความเร็วเดียวที่มีการเริ่มและหยุดการทำงาน ซึ่งหมายความว่าเมื่อถึงอุณหภูมิที่ต้องการมอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะปิดโดยอัตโนมัติและจะรีสตาร์ทเมื่ออุณหภูมิผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้เท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเครื่องปรับอากาศความเร็วคงที่ทำงานเต็มกำลังหรือไม่มีเลย ในบางประเทศความนิยมลดลงเนื่องจากแนวโน้มของเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์เติบโตมากขึ้น แต่ระบบความเร็วคงที่ยังคงเป็นทางออกที่ยอดเยี่ยมสำหรับความต้องการในการควบคุมสภาพอากาศ
ความแตกต่างของทั้งสองระบบ
เมื่อเปรียบเทียบหน่วยความเร็วคงที่กับหน่วยอินเวอร์เตอร์ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การทำงานของระบบทั้งสองประเภทนำเสนอนั้นเหมือนกันจริง ความแตกต่างหลักอยู่ที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์และผลกระทบที่มีต่อประสิทธิภาพของทั้งประสิทธิภาพการทำความเย็นและการทำความร้อนและพลังงานที่ใช้ไป ในความเป็นจริงมอเตอร์คอมเพรสเซอร์มีผลต่อประสิทธิภาพเสียงและต้นทุนสิ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อซื้อหรือเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศ
ประสิทธิภาพ
ในแง่ของประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์เป็นตัวเลือกที่ประหยัดพลังงานที่สุดซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ผลักดันให้เกิดความต้องการที่เพิ่มขึ้น เทคโนโลยีคอมเพรสเซอร์แบบปรับความเร็วได้หมายความว่าหน่วยจะปรับความเร็วมอเตอร์แทนที่จะเปิดและปิดซึ่งจะช่วยลดปริมาณพลังงานที่ต้องใช้ในการเริ่มต้นระบบ
เสียง
แม้ว่าเครื่องปรับอากาศทั้งสองประเภทจะสามารถทำงานได้ค่อนข้างเงียบ แต่เครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ก็มีข้อได้เปรียบเหนือหน่วยความเร็วคงที่ ต่างจากเครื่องปรับอากาศความเร็วคงที่ หมายความว่าระดับเสียงไม่คงที่และสังเกตได้ชัดเจนมากขึ้นในระหว่างการทำงาน หากเสียงรบกวนเป็นตัวทำลายความสุขของคุณไม่ว่าจะเป็นการทำสมาธิกับการทำงานหรือการนอนหลับที่ถูกรบกวน ดังนั้นระบบอินเวอร์เตอร์คือสิ่งที่คุณต้องการเพราะจะช่วยลดเสียงรบกวนจากการทำงานให้เหลือน้อยที่สุด
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายของเครื่องปรับอากาศความเร็วคงที่ต่ำกว่าระบบอินเวอร์เตอร์ทำให้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีงบประมาณ จำกัด แต่อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบในระยะยาวแล้ว การใช้เครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์จะคุ้มค่ามากกว่าเนื่องจากสามารถประหยัดค่าไฟให้ได้อย่างมาก
การซ่อมบำรุง
สำหรับระบบเครื่องปรับอากาศความเร็วคงที่มีโอกาสที่จะเกิดปัญหามากกว่า เนื่องจากการเริ่มต้นและหยุดการทำงาน
ที่กล่าวมาข้างต้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อคิดถึงค่าซ่อมโดยทั่วไปอินเวอร์เตอร์จะแพงกว่าเนื่องจากมีชิ้นส่วนในคอมเพรสเซอร์มากกว่า
ดังนั้นขึ้นอยู่กับงบประมาณความถี่ในการใช้งาน ค่าใช้จ่าย และความสะดวกในการบำรุงรักษาของเครื่องปรับอากาศที่เราเลือกใช้นั้น
มีสาเหตุจาก
แอร์สกปรก ต้องทำการล้างแอร์ทั้งคอยล์ร้อนและคอยล์เย็นโดยปั๊มน้ำแรงดันสูง
น้ำยาแอร์ขาด ต้องเติมน้ำยาเข้าระบบแรงดันประมาณ 70-80 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
มีอาการตันของระบบน้ำยาแอร์ ต้องทำการเปลี่ยนแคปทิ้ว(ตัวฉีดน้ำยา) , ไดเออร์(ตัวกรองความชื้น) และแวคคั่มระบบเติมน้ำยาใหม่
คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่มีกำลังอัด อันนี้ถึงขั้นเปลี่ยนคอมใหม่ครับ
*สาเหตุที่แอร์ไม่เย็นยังมีอีกหลายสาเหตุนะครับ ต้องให้ช่างทำการเช็คโดยละเอียด*
คู่มือการเช็คอาการแอร์เสียเบื้องต้น
ในกรณีอาการแอร์ไม่เย็น แต่คอมเพรสเซอร์ทำงาน
อาการแอร์ไม่เย็น คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน
มีสาเหตุจาก
สายไฟหลุด , ขาด ต้องทำการตรวจเช็ค หาจุดที่สายไฟขาดหรือหลุด
แมกเนติก(ตัวตัดต่อวงจรไฟฟ้า)เสีย ต้องทำการเปลี่ยนแมกเนติก
แคปสตาร์ทเสีย ต้องทำการเปลี่ยนแคป
แผงควบคุม(ที่คอยล์เย็น)เสียต้องทำการเปลี่ยนหรือส่งซ่อมที่ศูนย์บริการของผู้ผลิต
คอมเพสเซอร์เสีย ต้องทำการเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ใหม่ทั้งลูกครับ
*สาเหตุที่แอร์ไม่เย็นยังมีอีกหลายสาเหตุนะครับ ต้องให้ช่างทำการเช็คโดยละเอียด*
อาการคอยล์เย็นแอร์ (ตัวทำความเย็น) เสียงดัง
มีสาเหตุจาก
แอร์สกปรก ต้องทำการล้างโดยปั๊มน้ำแรงดันสูง
มอเตอร์เสื่อมสภาพ ต้องทำการเปลี่ยนมอเตอร์
ประกอบแอร์หลังจากการล้างไม่ดี ต้องทำการตรวจเช็คจุดขันสกรูและเช็คการประกอบใหม่
อาการตามท่อแอร์เป็นน้ำแข็ง
มีสาเหตุจาก
น้ำยาขาด ทำการตรวจเช็คน้ำยาแล้วในกรณีน้ำยาแอร์ขาดมากให้ทำการหาจุดรั่วแล้วทำการเชื่อมอุดรอยรั่ว
คอยล์เย็นสกปรก ต้องทำการล้างแอร์ด้วยปั๊มแรงดันสูง
อาการน้ำหยดที่คอยล์เย็น
มีสาเหตุจาก
แอร์สกปรก ต้องทำการล้างแอร์ด้วยปั๊มแรงดันสูง
ข้อต่อท่อน้ำทิ้งหลุด ทำการตรวจเช็คหาจุดที่หลุด
ท่อน้ำทิ้งตัน ทำการฉีดไล่ด้วยปั๊มแรงดันสูง
อาการแอร์มีกลิ่นอับชื้น
มีสาเหตุจาก
ในห้องมีความชื้นสูง ตั้งโหมดลดความชื้นที่ตัวแอร์
แอร์สกปรก ทำการล้างแอร์ด้วยปั๊มแรงดันสูง
เดินท่อน้ำทิ้งไปตรงกับท่อระบายน้ำ ทำการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่
อาการน้ำหยดที่คอยล์เย็น ( เรื้อรัง )
มีสาเหตุจาก
มีการตันที่ถาดน้ำทิ้งด้านหลังตัวแอร์ ทำการตัดคอยล์เย็นลงมาทำการถอดชิ้นส่วนและฉีดล้างให้ทั่ว
อาการคอยล์ร้อนเสียงดัง ( ตัวระบายความร้อน )
มีสาเหตุจาก
มอเตอร์พัดลมเสีย ต้องทำการเปลี่ยนมอเตอร์
ใบพัดลมตีกับโครงแอร์ ทำการตรวจเช็คหาจุดที่กระทบกัน
มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในตัวเครื่อง ทำการตรวจเช็ค
แมกเนติกเสื่อม ต้องทำการเปลี่ยนแมกเนติก
อาการรีโมตแอร์ไม่ทำงาน
มีสาเหตุจาก
ถ่านหมด ต้องทำการเปลี่ยนถ่าน
ตัวรับสัญญาณเสีย ทำการเปลี่ยนหรือส่งซ่อมที่ศูนย์บริการของผู้ผลิต
รีโมตเสีย ทำการเปลี่ยนรีโมต
กะเปาะวัดอุณหภูมืเสีย ทำการเปลี่ยนกะเปาะวัดอุณหภูมื
อาการบานสวิงที่คอยล์เย็นแอร์ไม่ทำงาน
มีสาเหตุจาก
มอเตอร์สวิงเสีย ต้องทำการเปลี่ยนมอเตอร์สวิง
ขาบานสวิงหัก ต้องทำการเปลี่ยนขาบานสวิง
แผงควบคุมเสีย ต้องทำการเปลี่ยนหรือส่งซ่อมที่ศูนย์บริการของผู้ผลิต
เครื่องปรับอากาศมีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วนได้แก่
1. ส่วนประกอบภายนอกเครื่อง
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องปรับอากาศนั้นจะแตกต่างกันตามเเต่ละรุ่น อธิบายได้ดังนี้
1.ฝาครอบเครื่องปรับอากาศ
มีลักษณะเป็นตะแกรงเพื่อให้อากาศจากใบพัดส่งลมเย็นสามารถไหลผ่านได้
2.แผงกรองอากาศ
เครื่องปรับอากาศบางรุ่นจะมีสารฟอกอากาศอยู่ที่แผงกรองอากาศนี้ด้วย แผงกรองอากาศจะติดตั้งอยู่ด้านหลังฝาครอบเครื่องปรับอากาศใช้เพื่อกรองฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกที่ประปนอยู่ในอากาศ
3.แผ่นเกล็ดกระจายลม
เป็นอุปกรณ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนทิศทางลมขึ้น ลง ซ้าย ขวา เพื่อกำหนดทิศทางของลมเย็น
4.ตัวรับสัญญาณรีโมทคอนโทรล
เครื่องปรับอากาศส่วนใหญ่ ในปัจจุบันสั่งงานด้วยสัญญาณจากรีโมทคอนโทรล เพื่อให้สะดวกในการสั่งงาน ตัวรับสัญญาณรีโมทคอนโทรล จึงเป็นอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศที่สำคัญชิ้นหนึ่ง
5.ไฟแสดงการทำงาน
ลักษณะไฟจะแตกต่างกันตามประเภทและรุ่นของเครื่องปรับอากาศ ปกติแล้วจะมี 3 ดวง คือไฟสีแดง แสดงถึงสภาวะเครื่องทำงาน Power, ไฟสีส้มแสดงสภาวะในขณะที่คอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศไม่ทำงาน แต่ใบพัดส่งลมเย็นทำงานอยู่ Sleep และไฟสีเหลืองแสดงสภาวะการตั้งเวลาของเครื่องปรับอากาศ Time
6.ช่องอากาศออก
มีลักษณะเป็นตะแกรงอยู่ที่เครื่องปรับอากาศภายนอกอาคาร เป็นช่องระบายอากาศที่ถูกพัดลมดูดอากาศจากอีกด้านหนึ่ง พัดผ่านแผงท่อระบายความร้อนออกมา
7.ท่อระบายน้ำทิ้ง
เมื่อเครื่องปรับอากาศดูดอากาศ และความชื้นภายในห้องเข้ามาความชื้นเหล่านั้นจะกลั่นตัวจนกลายเป็นหยดน้ำ และ ถูกระบายออกทางท่อระบายน้ำทิ้ง
2. ส่วนประกอบภายในเครื่อง
1.ท่อน้ำสารทำความเย็น
แบ่งออกเป็น 2 ท่อ ทำหน้าที่ ส่งสารทำความเย็นเข้าสู่แผงทำความความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ส่วนที่อยู่ภายในอาคาร และนำสารจากแผงทำความเย็นไปยังคอมเพรสเซอร์ที่อยู่ภายนอกอาคาร
2.แผงท่อทำความเย็น
มีลักษณะเป็นตะแกรงติดตั้งอยู่ด้านหน้าของเครื่องปรับอากาศ ภายในอาคาร ภายในแผงท่อทำความเย็นจะมีสารทำความเย็น ไหลเวียนอยู่ เพื่อรับลมจากใบพัดส่งลมเย็นและส่งไปยังแผ่นเกล็ดกระจายลม
3.มอเตอร์
มีหน้าที่หมุนใบพัดส่งลมเย็นเพื่อให้เกิดแรงลม
4.ใบพัดส่งลมเย็น
ต่อเชื่อมกับมอเตอร์สำหรับพัดส่งลมเย็นไปยังแผงท่อทำความเย็น
5.คอมเพรสเซอร์
ติดตั้งอยู่ที่เครื่องปรับอากาศภายนอกอาคารทำหน้าที่รับสารทำความเย็นที่อยู่ในสภาพเป็นไอ จากเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร และอัดไอจากสารทำความเย็นไปยังแผงท่อระบายความร้อนต่อไป
6.แผงท่อระบายความร้อน
ต่อเชื่อมกับคอมเพรสเซอร์มีลักษณะเป็นท่อภายในมีสารทำความเย็นที่ส่งมาจากคอมเพรสเซอร์ไหลเวียนอยู่
7.พัดลมระบายความร้อน
อยู่ด้านหลังแผง ท่อระบายความร้อทำหน้าที่ดูดอากาศภายนอกอาคารเข้ามาผ่านแผงท่อระบายความร้อน เพื่อให้สารทำความเย็นเย็นลงและกลั่นตัวกลายเป็นของเหลวอีกครั้ง
ปัญหาน้ำยาแอร์รั่ว เป็นปัญหาที่ช่างแอร์อาจจะพบกันได้บ่อย ๆ ยิ่งถ้าช่างแอร์หาสาเหตุรอยรั่วไม่เจอ ทำให้แอร์ทำความเย็นได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และส่งผลทำให้อุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบเสียหายเร็วขึ้น ในปัจจุบันก็มีเครื่องมือตรวจเช็กน้ำยาแอร์รั่วเบื้องต้นมากมายในท้องตลาด เพื่อช่วยหาสาเหตุ จุดรั่วได้เร็วขึ้น แต่ถ้าไม่มีเครื่องมือตรวจเช็ก เรามี 5 สัญญาณเบื้องต้น ที่ทำให้ช่างชวนสงสัยว่า แอร์เครื่องนั่นกำลังเจอปัญหาน้ำยาแอร์รั่วหรือเปล่า
1. แอร์ไม่เย็นหรือเย็นไม่มาก
น้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในระบบทำความเย็น ถ้าน้ำยาแอร์มีการรั่วไหล น้ำยาแอร์จะไม่เพียงพอในระบบทำความเย็น จะทำให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นลดลง ไม่สามารถทำความเย็นได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้
2. แอร์มีแต่ลม
อย่างที่บอกไปในหัวข้อก่อนหน้าน้ำยามีส่วนสำคัญอย่างมากถ้าน้ำยาแอร์รั่วออกไปมาก อาจจะเจอปัญหาแอร์ไม่มีความเย็นออกมา ออกมาแต่ลมที่ไม่มีความเย็น ทำให้เราอาจจะสงสัยเบื้องต้นได้ว่าแอร์มีปัญหาน้ำยาแอร์รั่ว
3. แอร์จะมีเสียงดังผิดปกติ
ส่วนใหญ่ตำแหน่งที่น้ำยาแอร์รั่วไหล จะพบได้ในคอยล์ร้อน คอยล์เย็น หรือจุดเชื่อมต่อต่าง ๆ ในระบบทำความเย็น ทำให้เราอาจจะพบอาการเสียงดังออกมารอยรั่วตามจุดต่าง ๆ ในคอยล์ได้
4. มีน้ำแข็งเกาะที่คอยล์หรือท่อระบบน้ำยาแอร์
หากน้ำยาแอร์ไม่เพียงพอในระบบ จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานไม่ดีพอ สิ่งที่อาจจะพบได้ว่า คือมีน้ำแข็งเกาะที่คอยล์หรือท่อระบบน้ำยาแอร์ และอาจจะพบน้ำหยดจากแอร์ซึ่งอาจจะทำให้อุปกรณ์ส่วนอื่นภายในระบบเสียหายตามมาได้
5. ค่าไฟที่เพิ่มขึ้น
การรั่วไหลของน้ำยาแอร์ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นลดลง ทำให้แอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้น การทำงานหนักมากขึ้นก็ส่งผลให้ใช้พลังงานมากขึ้น ค่าไฟฟ้าต้องสูงขึ้นตาม
ปัญหาคอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน ควรแก้ไขอย่างไรให้ปลอดภัย อ่านได้ที่นี่!
สำหรับสภาพอากาศของประเทศไทยนั้น ไม่ต้องกล่าวถึงทุกคนก็คงรู้กันดีว่าแทบจะร้อนอบอ้าวตลอดทั้งปีเลยทีเดียว ซึ่งภายใต้สภาพอากาศแบบนี้ สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือแอร์หรือเครื่องปรับอากาศนั่นเอง เพราะหากขาดไปก็คงจะลำบากอยู่ไม่น้อย
ด้วยเหตุนี้เองหลาย ๆ บ้านจึงเลือกติดตังแอร์เพื่อปรับอากาศภายในบ้านให้เย็นสบายและไม่ต้องทรมานกับความร้อน แต่ทั้งนี้บางบ้านก็อาจจะเคยเจอปัญหาแอร์ไม่เย็น หรือเย็นไม่ได้ดั่งใจที่คาดหวังเอาไว้ ไม่ว่าล้างแอร์ยังไงก็ยังไม่เย็นขึ้นเสียที จนลืมสังเกตไปว่าคอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงานต่างหาก
เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดมากที่สุด จึงจำเป็นต้องสืบหาสาเหตุที่แท้จริงว่า คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงานเกิดมาจากสาเหตุใด ดังนั้น จะพาคุณมารู้จักบรรดาสาเหตุที่ส่งผลให้คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงานกันว่ามีอะไรบ้าง
1. คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน เพราะใช้แอร์หนักเกินไป
เคยหรือไม่ ล้างแอร์เท่าไหร่แอร์ก็ยังไม่เย็นเสียที อย่างที่เรารู้กันดีว่าในปัจจุบันนี้มีผู้คนไม่น้อยที่เลือกทำงานอยู่ที่บ้านเป็นหลัก อีกทั้งบางคนยังมีไลฟ์สไตล์การทำกิจกรรมต่าง ๆ อยู่ภายในบ้าน และเมื่อใช้เวลาอยู่ในบ้านมากเท่าไหร่ การใช้งานแอร์ก็ยาวนานขึ้นตามไปด้วย จึงกลายเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน เนื่องจากใช้งานแอร์หนักเกินไปนั่นเอง
วิธีแก้ปัญหาจากการใช้แอร์หนักเกินไป
วิธีการแก้ปัญหาคอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงานเนื่องจากการใช้งานแอร์ที่หนักเกินไปนั้นสามารถทำได้โดยการกำหนดช่วงเวลาปิดพักเครื่องในแต่ละวัน ยกตัวอย่างเช่น เลือกปิดเครื่องในช่วงเวลา 12.00-13.00 น. และ 19.00-20.00 น. เพื่อให้แอร์ได้พักการใช้งาน
นอกจากนี้ แอร์บางยี่ห้อในปัจจุบันยังสามารถตั้งเวลาเพื่อให้แอร์เปิด-ปิดเองอัตโนมัติได้อีกด้วย ทำให้ไม่ต้องคอยดูเวลาเพื่อเปิด-ปิดแอร์เองให้วุ่นวาย นับว่าสะดวกสบายมากทีเดียว
2. คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน เพราะแผงวงจรเสีย
การใช้งานแอร์ควรใช้งานอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะการเปิด-ปิดเครื่องอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพราะการปิดแอร์ด้วยการสับคัตเอาต์ทันที ไม่ได้กดปิดเครื่องผ่านทางรีโมตแอร์ก่อน อาจทำให้แผงวงจรเสียหายได้ เนื่องจากไฟกระชากจนเกิดการสะสมความร้อนภายในเครื่อง ส่งผลให้คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงานนั่นเอง
แต่ทั้งนี้ นอกจากการใช้งานแอร์ที่ไม่ถูกต้องแล้ว อุบัติเหตุที่ไม่สามารถควบคุมได้บางอย่างเองก็อาจส่งผลให้แผงวงจรเสีย จนคอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงานได้เช่นกัน ได้แก่ น้ำรั่ว, ฝนสาด และการเกิดไฟฟ้าดับหรือไฟตกอยู่บ่อยครั้ง
วิธีแก้ปัญหาจากความเสียหายของแผงวงจร
วิธีแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาคอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงานเนื่องจากความเสียหายของแผงวงจรคือ การเปิด-ปิดแอร์อย่างถูกวิธี โดยปิดเครื่องด้วยรีโมตก่อนที่จะสับคัตเอาต์ รวมถึงหมั่นตรวจสอบคอมเพรสเซอร์แอร์อยู่เสมอว่าเกิดความเสียหายหรือไม่ เพื่อรักษาซ่อมแซมให้คอมเพรสเซอร์แอร์อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานตลอดเวลา
3. คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน เพราะ BTU แอร์ไม่เหมาะสม
สิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกเมื่อเลือกซื้อแอร์มาติดตั้งภายในบ้านสักเครื่องก็คือขนาด BTU ของแอร์นั่นเอง เพราะแอร์จะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมีขนาด BTU ที่เหมาะสมกับขนาดของห้องที่ต้องการจะติดตั้ง เพราะการแอร์ที่มีขนาด BTU เล็กเกินกว่าขนาดห้องจะทำให้แอร์ไม่เย็น และทำให้แอร์ทำงานหนักเกินไปเนื่องจากสามารถปรับอุณหภูมิภายในห้องให้เย็นได้ช้า จนส่งผลให้คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน
วิธีแก้ปัญหาจาก BTU แอร์ที่ไม่เหมาะสม
คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงานเนื่องจาก BTU แอร์ไม่เหมาะสมนั้น สามารถแก้ไขได้โดยการเลือกซื้อแอร์ที่มีขนาด BTU เหมาะสมกับขนาดของห้องที่ต้องการติดตั้ง เพื่อไม่ให้แอร์ต้องทำงานหนักเกินไปจนส่งผลให้คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน โดย BTU ของแอร์แต่ละขนาดจะเหมาะสมกับขนาดของห้องดังต่อไปนี้
- แอร์ขนาด 9,000 BTU เหมาะสมกับพื้นที่ห้องขนาด 9-14 ตารางเมตร
- แอร์ขนาด 12,000 BTU เหมาะสมกับพื้นที่ห้องขนาด 10-18 ตารางเมตร
- แอร์ขนาด 18,000 BTU เหมาะสมกับพื้นที่ห้องขนาด 16-26 ตารางเมตร
- แอร์ขนาด 24,000 BTU เหมาะสมกับพื้นที่ห้องขนาด 21-34 ตารางเมตร
4. คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน เพราะไฟรั่วหรือโอเวอร์โหลด
ปัญหาไฟรั่วหรืออาการโอเวอร์โหลดของคอมเพรสเซอร์แอร์ นับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงานได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นปัญหาที่ส่งผลให้มอเตอร์ภายในคอมเพรสเซอร์แอร์มีความร้อนสูงอยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญคือ นอกจากปัญหาไฟรั่วหรืออาการโอเวอร์โหลดจะทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงานแล้ว ยังเป็นสาเหตุให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย
วิธีแก้ปัญหาจากสาเหตุไฟรั่วหรือโอเวอร์โหลด
สำหรับการแก้ไขปัญหาคอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงานเนื่องจากไฟรั่วหรือมีอาการโอเวอร์โหลดนั้น จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะตรวจสอบอาการด้วยมิเตอร์วัดกระแสและวัดระดับความร้อนของคอมเพรสเซอร์แอร์ เพื่อให้ทำการแก้ไขซ่อมแซมได้อย่างตรงจุด
5. คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน เพราะคัตเอาต์เสื่อม
สิ่งของทุกอย่างเมื่อกาลเวลาผ่านไปนาน ๆ เข้า ย่อมต้องเกิดการเสื่อมสภาพลง และในที่นี้ก็รวมไปถึงคัตเอาต์ด้วยเช่นกัน ซึ่งปัญหาคัตเอาต์เสื่อมมักพบได้บ่อยในบ้านหลังเก่า ดังนั้นจึงควรตรวจสอบสภาพคัตเอาต์อยู่เสมอ และรีบทำการเปลี่ยนใหม่ทันทีเมื่อพบว่าเกิดการเสื่อมสภาพหรือชำรุด เนื่องจากการที่คัตเอาต์เสื่อมสภาพจะทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน ทั้งยังอาจส่งผลให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรอีกด้วย
วิธีแก้ปัญหาจากการเสื่อมสภาพของคัตเอาต์
วิธีการแก้ปัญหาหรือหลีกเลี่ยง ไม่ให้เกิดเหตุการณ์คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงานเนื่องจากคัตเอาต์เสื่อมนั้น สามารถทำได้ด้วยการตรวจสอบสภาพของคัตเอาต์อยู่เสมอ ว่าพร้อมใช้งานหรือไม่ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากแรงดันขาเข้าและแรงดันขาออกของคัตเอาต์ โดยปกติแล้วแรงดันขาเข้า-ขาออกจะอยู่ที่ 220 โวลต์เท่า ๆ กัน แต่ถ้าหากตรวจสอบแล้วแรงดันขาเข้า-ขาออกต่ำกว่า 220 โวลต์ให้รีบเปลี่ยนคัตเอาต์ใหม่ทันที
6. คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน เพราะสตาร์ตเตอร์เสีย
เมื่อสตาร์ตเตอร์แอร์เกิดความเสียหายขึ้น จะส่งผลให้คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงานทันที โดยสามารถสังเกตอาการได้ว่า คอมเพรสเซอร์แอร์จะมีเสียงในตอนเปิดเครื่องก่อนที่จะดับลงในเวลาต่อมา รวมถึงความเย็นที่เคยปล่อยออกมาจากแอร์ก็ค่อย ๆ ลดน้อยลงจนเหลือเพียงแต่ลมเท่านั้น
วิธีแก้ปัญหาจากความเสียหายของสตาร์ตเตอร์
วิธีแก้ปัญหาคอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน เนื่องจากสตาร์ตเตอร์แอร์เสียนั้นก็คือ การรีบหาซื้อสตาร์ตเตอร์แอร์มาเปลี่ยนใหม่ทันที แต่ทั้งนี้การเปลี่ยนสตาร์ตเตอร์แอร์เองก็จำเป็นต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีความชำนาญมากพอ ดังนั้น สำหรับผู้ที่เผชิญปัญหาแต่ไม่ได้มีความชำนาญในด้านนี้ ควรเรียกใช้บริการจากช่างแอร์ที่เชี่ยวชาญมาแก้ไขปัญหาคอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงานจะดีกว่า เพื่อให้ปัญหาได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด